ก่อนหน้า1/3ถัดไป
บทที่5 เรื่องการรับสัมผัสและการรับรู้

การรับรู้
ความรู้สึกและการรับรู้ (Sensation and Perception)

ความรู้สึก (Sensation) คือ ขั้นตอนที่สิ่งเร้ากระทบประสาทสัมผัสหรือขั้นตอนการรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่ตัว เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นก่อนกระบวนการรับรู้ เป็นไปตามระบบการทำงานของร่างกาย โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งเร้าภายนอกหรือภายในร่างกายมากระตุ้นอวัยวะรับความรู้สึก ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง อวัยวะเหล่านี้จะมีเซลล์พิเศษทำหน้าที่รับความรู้สึกที่เรียกว่า
รีเซปเตอร์ (Recepter)
การศึกษาเรื่องความรู้สึกต้องเข้าใจกระบวนการของอวัยวะรับความรู้สึกต่างๆ ก่อน และสิ่งที่ควรศึกษามี 2 ประการ คือ
1. เทรซโฮลด์ (Thresholds)
2. การปรับตัวในการรับรู้ความรู้สึก ( Sensory Adatation)
เทรซโฮลด์ (Thresholds)
เป็นจุดที่เกิดเสียงค่อยที่สุดที่จะทำให้เกิดความรู้สึกจากเสียงหรือได้ยิน (สัมผัส)
เทรซโฮลด์ มีด้วยกัน 2 ชนิด
1. เทรซโฮลด์สมบูรณ์ คือความเข้มของสิ่งเร้าที่มีปริมาณน้อยที่สุดที่จะกระตุ้นให้บุคคลเกิดความรู้สึกได้
2. เทรซโฮลด์ความแตกต่าง คือปริมาณความเข้มของสิ่งเร้าที่น้อยที่สุดที่เปลี่ยนแปลงไปและทำให้เกิดความรู้สึกได้หรือความแตกต่างของความเข้มของสิ่งเร้าสองสิ่งที่น้อยที่สุด ที่จะกระตุ้นบุคคลให้เกิดความรู้สึกได้
การปรับความรู้สึก ( Sensory Adatation )
เป็นลักษณะของการเปลี่ยนแปลงในการรับความรู้สึก โดยอวัยวะรับความรู้สึกเกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้สึกที่มีต่อสิ่งเร้าหลังจากถูกกระตุ้นมาในระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ความหมายของการรับรู้
การรับรู้ (Perception) คือ ขบวนการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการเลือกสิ่งเร้า (selection) การประมวลสิ่งเร้า (organization) และการแปลผลตีความสิ่งเร้า (interpretation)

1. การรับรู้ เป็นผลของความรู้เดิมรวมกับการรับสัมผัส (Sensation)
หรือเป็นผลของการเรียนรู้รวมกับความรู้สึกจากการสัมผัส โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะการรู้สึกจากการสัมผัสอย่างเดียวมักไม่มีความหมาย ผู้สัมผัสต้องแปลความหมายว่าสิ่งเร้าที่มาสัมผัสประสาทสัมผัสนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร
ดังนั้น ทั้งสัมผัสและการรับรู้จึงเกี่ยวโยงกันอยู่ในแง่ของการทำงานที่ต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ การรับรู้ยังเป็นขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวโยงกับความจำ (Memory) ในตอนที่แปลผล ตีความสิ่งเร้าและจะต้องเทียบเคียงกับประสบการณ์เดิมในความจำอีกด้วย
2. การรับรู้ เมื่อมองในแง่พฤติกรรม เป็นกระบวนการอย่างหนึ่ง
โดยมีสิ่งเร้าไปเร้าอินทรีย์แล้วทำให้อินทรีย์ตอบสนองต่อสิ่งเร้า คนเรามักจะรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบประสาทสัมผัสและสภาพจิตใจของแต่ละคนตลอดจนลักษณะของวัตถุที่เราจะรับรู้

website templates.