ก่อนหน้า1/6ถัดไป
บทที่6 เรื่องการจูงใจ

การจูงใจนักจิตวิทยาได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
โยธิน ศันสนยุทธ และคณะ (2533) กล่าวว่า กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลที่กระตุ้นให้บุคคลไปสู่การกระทำอย่าางมีเป้าหมาย เรียกว่า การจูงใจ
บารอน และ ชังค์ (Baron and Schunk) ให้ความหมายว่า การจูงใจเป็นกระบวนการที่กระตุ้นชี้แนะแนวทาง และกำหนดให้พฤติกรรมดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทาง(Slavin, 1994)
การจูงใจเป็นคำกล่าวรวมถึง สภาวะที่อินทรีย์ถูกกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ เป้าหมายที่เราต้องการ การจูใจอาจเกิดขึ้นในภาวะต่าง ๆ มากมาย เกิดจากความต้องการของมนุษย์ในการที่จะดำรงชีวิตอยู่ หรือเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การจูงใจอาจเกิดสภาพแวดล้อมภายนอกเป็นสิ่งเร้า หรืออาจเกิดจากความต้องการและแรงขับภายในตัวบุคคลได้ หรือเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายในรวมกัน
ตัวอย่างการจูงใจเกิดจากความต้องการ หรือแรงขับภายในตัวบุคคล เช่น นาย ก. หิวข้าว เขาเดินไปยังโรงอาหารซื้อข้ามารับประทาน จะเห็นได้ว่า นายโก้ เกิดความหิว (แรงขับ หรือ drive) กระตุ้นเพราะร่างกายเกิดความต้องการ (Need) อาหาร ดังนั้น นายโก้ จึงต้องแสดงพฤติกรรม คือ เดินไปซื้อข้าวที่โรงอาหาร สิ่งที่เขามุ่งหมายในที่นี้ คือ ข้าว จึงเป็นเป้าหมายที่จะช่วยลดความหิวหรือแรงขับให้ลดลง หรือหมดไป เราอาจเขียนเป็นไดอะแกรมง่าย ๆ ดังนี้

สิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไปยังจุดหมายปลายทางเราเรียก แรงจูงใจ(Motive)

จากตัวอย่างข้างบน ความหิวเป็นแรงจูงใจ ข้าวเป็นเป้าหมาย ดังนั้น เราอาจเขียนไดอะแกรมใหม่ของการเกิดการจูงใจได้ดังนี้
การจูงใจเกิดขึ้นจากแรงผลักดัน เช่น ความต้องการ เมื่อเกิดความต้องการก็ต้องพยายามต่อสู้ดิ้นรนทำให้เกิดพฤติกรรมที่จะช่วยให้เราถึงจุดหมาย แล้วความต้องการก็จะลดลง เมื่อได้รับการตอบสนองต่อไปก็จะเกิดความต้องการอย่างอื่น ๆ ตามมาอีก วนเวียนเช่นนี้ตลอดไป
การจูงใจนั้นจะต้องประกอบด้วย
1. ภาวะที่อินทรีย์ถูกเร้า (Motivating States)
2. พฤติกรรมที่ถูกเร้าด้วยเหตุจูงใจ (Motivating Behavior)
3. ภาวะอินทรีย์เกิดความสมปรารถนา (Satisfaction) หรือทำให้สภาพการเร้าลดลงสู่สภาพปกติ
สรุปทั้งความต้องการ แรงขับ และแรงจูงใจ เมื่อปรากฏในตัวบุคคลก็จะเกิดองค์ประกอบพื้นฐานอย่างน้อย 2 ประการ คือ สภาวะของความไม่สมดุล อันเป็นองค์ประกอบภายในกับเป้าหมายภายนอก (goal) ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันจะทำให้เกิดภาวะการจูงใจ (Motivation) ขึ้น
ถ้าต้องการดูว่าใครมีการจูงใจอย่างไรนั้น ต้องดูที่พฤติกรรมเพราะพฤติกรรมย่อมสังเกตได้ เราทุกคนรู้จักจูงใจผู้อื่นและถูกผู้อื่นจูงใจมาแล้ว เช่น เมื่อท่านพูดว่า “ อาหารที่ฟิวเจอร์อร่อย เราไปรับประทานกันไหม ” ถ้าเพื่อนตกลงตามที่ท่านชวนแสดงว่าท่านจูงใจเขาสำเร็จแล้ว และเมื่อรับประทานเสร็จเพื่อนชวนว่า “ ภาพยนตร์เรื่องจดหมายรักดีนะเราไปดูกันไหม ” และถ้าท่านตกลงไปดูหนังกับเพื่อนก็แสดงว่าท่านถูกเพื่อนจูงใจสำเร็จแล้ว

การศึกษาเรื่องการจูงใจจะไม่สมบูรณ์ ถ้าเราไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของสิ่งจูงใจ สิ่งล่อใจ คำว่าสิ่งจูงใจ (Incentive) เป็นองค์ประกอบที่อยู่ภายนอก อาจเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ สิ่งจูงใจเป็นตัวกำหนดทิศทางของพฤติกรรม กล่าวคือ พฤติกรรมที่ได้รับการจูงใจอาจเป็นการกระทำเพื่อมุ่งเข้าหา หรือหนีออกห่างจากสิ่งจูงใจนั้นก็ได้ ดังนั้น ถ้าเป็นสิ่งที่คนเราอยากได้ หรืออยากเข้าใกล้ เรียกว่า สิ่งจูงใจทางบวก (Positive Incentive) เช่น อาหาร ปริญญาบัตร คำสรรเสริญ เป็นต้น สิ่งที่คนเราไม่ต้องการหรืออยากหลีกเลี่ยง เรียกว่า สิ่งจูงใจทางลบ (Negative Incentive) ได้แก่ อาหารที่เราไม่ชอบ เสียงหนวกหู อากาศเสีย คำกล่าวหา การลงโทษ
website templates.