บทที่3 การตีความและการอุดช่องว่างของกฎหมาย

การตีความหมาย(Interpretation of Law)
การค้นหาความหมายของกฎหมายที่มีถ้อยคำไม่ชัดเจนหรืออาจแปลความได้หลายทาง เพื่อทราบว่าถ้อยคำในกฎหมายมีความหมายอย่างไร
เหตุผลที่ต้องมีการตีความกฎหมาย
- กฎหมายบางคำมีความหมายกำกวม
- แปลความหมายได้หลายความหมาย

ตัวอย่าง คำที่ต้องมีการตีความ
- กลางคืน
- อาวุธ
- โดยทุจริต
- ใช้กำลังประทุษร้าย
- ไขข่าวแพร่หลาย
- ในทางการที่จ้าง

ผู้ที่จะต้องตีความกฎหมายเพื่อนำไปใช้
- ทนายความ
- ตำรวจ
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- ผู้พิพากษา

ประเภทของการตีความ
- การตีความตามตัวอักษร
- ภาษาธรรมดา
- ภาษาเทคนิค
- นิยามศัพท์
- ศัพท์กฎหมายที่ไม่แจ้งชัด
- การตีความตามเจตนารมณ์
-เป็นการพิจารณาความหมายของคำบางคำที่มีความหมายไม่ชัดเจนพอที่จะตีความตามตัวอักษรได้จำเป็นต้องนำ “เจตนา” ของผู้ที่ร่างกฎหมายหรือการออกกฎข้อบังคับ ข้อห้ามต่าง ๆ มาใช้ประกอบการพิจารณาในการตีความ

ช่องว่างของกฎหมาย
กรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่จะนำไปปรับใช้แก่ข้อเท็จจริงได้
ช่องว่างของกฎหมายเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี
1. ผู้บัญญัติกฎหมายคิดไปไม่ถึงว่าจะมีช่องว่างในกฎหมาย
2. ผู้บัญญัติกฎหมายคิดถึงช่องว่างของกฎหมายนั้น แต่เห็นว่ายังไม่ควรบัญญัติให้ตายตัว
วิธีการอุดช่องว่างของกฎหมายในคดีแพ่ง
1. จารีตประเพณี
1.1 ต้องใช้บังคับมาเป็นเวลานาน
1.2 ต้องเป็นที่ยอมรับของคนในท้องถิ่นนั้น
1.3 ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
3. หลักกฎหมายทั่วไป

website templates.