บทที่12 เรื่องพฤติกรรมทางสังคม

นักจิตวิทยาสังคมจึงได้ค้นพบปัจจัยที่ช่วยในรดึงดูดให้บุคคลมีความต้องการที่จะสร้างสัมพันธ์อันดีต่อกันหลายประการ ดังนี้
1. คุณลักษณะของบุคคล (Personal Trait)
หมายถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่สามารถสร้างแรงดึงดูดใจให้บุคคลอื่นตวามความต้องการที่จะสร้างสัมพันธ์ด้วย ได้แก่
- คุณลักษณะทางร่างกาย เป็นคุณลักษณะที่ดึงดูดใจเป็นอันดับแรก ด้วยเหตุที่ว่ารูปร่างหน้าตาดีย่อมเป็นที่สะดุดตา อีกทั้งยังสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้พบเห็นอีกด้วย แต่ทั้งนี้จะใช้รูปร่างหน้าตาอย่างเดียวในการตัดสินใจก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายเช่นกัน
- การใช้ภาษาและท่วงทีวาจา การพูดที่อ่อนหวาน ไพเราะ ใช้ภาษาได้ถุกต้องถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งในการดึงดูดใจให้บุคคลอยากจะเข้าใกล้และสร้างสัมพันธ์ด้วย
- ความสามารถในตัวบุคคล หากบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเหนือกว่าบุคคลธรรมดาทั่วไป ก็ย่อมได้รับความสนใจจากบุคคลรอบข้างได้ง่าย และอยากทำความรู้จักคบหาด้วย
2. ความใกล้ชิด (Proximity)
ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจได้นั้นคือการใกล้ชิดกัน ไม่ว่าจะโดยเหตุบังเอิญหรือโดยหน้าที่การงานก็ตาม ซึ่งความใกล้ชิดจะไม่มีผลต่อความสัมพันธ์เลยหากบุคคลนั้น ๆ เคยมีปัญหาต่อกันมาก่อน โดยทั่วไปแล้วในการพบกันครั้งแรกของบุคคลมักจะมีปฏิกิริยากลาง ๆ ค่อนไปทางพึงพอใจมากกว่า
3. ความคุ้นเคย (Familiarity)
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากเมื่อบุคคลเกิดความใกล้ชิดแล้ว ความคุ้นเคยจะเป็นสภาวะของความแนบแน่นในการเกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปในลักษณะที่ต่อเนื่อง บุคคลที่เกิดความคุ้นเคยแล้วมักจะแสดงตัวตนและอารมณ์อย่างเปิดเผยเป็นอิสระ และมักไม่คำนึงถึงระเบียบกฎเกณฑ์ระหว่างกันมากนัก
4. ความคล้ายคลึง (Similarity)
โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นมักจะชอบบุคคลที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกับตนในทางใดทางหนึ่ง ดังนั้น หากบุคคลที่มีทัศนคติคล้ายคลึงกันมากเท่าใด ก็จะเกิดความดึงดูดใจมากขึ้นเท่านั้นด้วย
5. ความแตกต่างที่ลงตัว (Complementary)
ในบางกรณีความแตกต่างก็สามารถมีส่วนดึงดดูดใจให้บุคคลเกิดความพึงพอใจได้เหมือนกัน เช่น คนช่างพูดมักจะชอบเลือกคบคนที่ชอบฟังมากกว่าพูด หรือคนที่ชอบเป็นผู้นำมักจะเลือกคบกันคนที่ชอบเป็นผู้ตาม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ความต่างของบุคคลนั้นก็ยังมีระดับการสร้างแรงดึงดูดไม่เท่ากับความคล้ายคลึงกันของบุคคล
6. ความพึงพอใจจากสิ่งที่ได้รับ (Rewardingness)
บุคคลที่สร้างความพึงพอใจแก่บุคคลอื่นได้มากเท่าไร ย่อมสร้างแรงดึงดูดใจให้บุคคลต้องการมีสัมพันธภาพมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลที่ได้รับความพึงพอใจจะมีความรู้สึกว่า ตนเองเป็นผู้ที่มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้

อิทธิพลของสังคมที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของบุคคล
ลักษณะพฤติกรรมทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าหากพิจารณาให้ดีแล้วจะพบว่าสังคมที่บุคคลเป็นสมาชิกนั้นมีส่วนในการสร้างอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมแต่ละคนด้วย ซึ่งอิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลที่สำคัญ ๆ ในที่นี้ ได้แก่
1. การคล้อยตาม (Conformity)
การคล้อยตามเป็นแนวโน้มที่บุคคลจะทำตามบุคลอื่น เกิดขึ้นในกรณีที่บุคคลไม่สามารถตัดสินใจในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปได้ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการคล้อยตาม ได้แก่
- ความคลุมเครือของสถานการณ์
- ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ (Obedience to Authority)
3. ความร่วมมือ (Co-Operation)
4. การแข่งขัน (Competition)
5. ความก้าวร้าว (Aggression)
6. พฤติกรรมการช่วยเหลือ (Helping Behavior or Prosocial Behavior)

 

website templates.