ก่อนหน้า4/8ถัดไป
บทที่3 เรื่องพัฒนาการของมนุษย์

ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ (Piaget’s Cognitive Develpoment Theory)

ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาพบว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา และก่อให้เกิดพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาขึ้น ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ การดูดซึม (Assimilation) และ การปรับความแตกต่าง (Accommodation) ซึ่งกระบวนการดูดซึมจะเกิดขึ้นก่อน คือ เมื่อเด็กปะทะสัมพันธ์กับสิ่งใดก็จะดูดซึมภาพ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่เคยประสบ และแสดงพฤติกรรมต่อสภาวะแวดล้อมใหม่ สำหรับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์นั้นสามารถแบ่งขั้นตอนทั้งสิ้น 4 ลำดับขั้น ได้แก่
ระยะที่ 1 ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensory – Motor Operation or Reflexive)อยู่ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อ เป็นช่วงเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้ามีการใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าไรก็จะช่วยพัฒนาเชาวน์ปัญญาได้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปเด็กจะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมได้เท่านั้น
ระยะที่ 2 ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล หรือการคิดก่อนปฏิบัติการ (Preoperation or Preconceptural Stage or Concret Thinking Operations)
อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี พัฒนาการเชาว์ปัญญาของเด็กวัยนี้เน้นไปที่การเรียนรู้ และเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้นด้วย โดยสามารถพูดได้เป็นประโยค มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่เด็กยังไม่สามารถใช้สติปัญญาคิดได้อย่างเต็มที่ 
ระยะที่ 3 ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation Stage or Period of Concrete Operation) หรือขั้นปฏิบัติการด้วยรูปธรรม
อยู่ในช่วงอายุ 7-11 ปี เด็กในวัยนี้จะสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจปัญหา ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ
1. สามารถสร้างจินตนาการในความคิดของตนขึ้นมาได้ (Mental Representations)
2.เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพปริมาณของสสาร (Conservation)่
3.มีความสามารถในการคิดเปรียบเทียบ (Relational Terms)
4.สามารถสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมเป็นหมวดหมู่ได้ (Class inclusion) เช่น การแบ่งแยกประเภทของสัตว์ เป็นต้น
5.มีความสามารถในการเรียงลำดับ (Serialization and Hierarchical Arrangements)
6.สามารถคิดย้อนกลับไปมาได้ (Reversibility)
ระยะที่ 4 ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage or Period of Formal Operation) หรือขั้นการปฏิบัติการด้วยนามธรรม
อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ได้ เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ ไม่ยึดตนเป็นศูนย์กลาง รู้จักการใช้เหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก (Kohlberg’s Moral Development)
เป็นทฤษฎีของลอเรนซ์ โคห์ลเบิร์ก (Lawrence Kohiberg) เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ โดยได้ขยายขอบเขตงานวิจัยให้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โคห์ลเบิร์กได้สรุปทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลออกเป็น 3 ระดับ ในแต่ละระดับนั้นยังสามารถแบ่งได้อีก 2 ขั้นตอน รวมทั้งสิ้น 6 ขั้นตอน ดังนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนเกณฑ์ทางสังคม (Pre-conventional Level) ในระดับนี้เด็กจะรับรู้ถึงกฎเกณฑ์ที่ดีและไม่ดีจากคนที่มีอิทธิพลเหนือตน เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู หรือเด็กที่โตกว่า และจะนึกถึงรางวัลและการลงโทษเป็นส่วนประกอบในการแสดงพฤติกรรม ในระดับนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นของการลงโทษและเชื่อฟัง (Punishment and obedience orientation)
เป็นขั้นของการหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกลงโทษ เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 7 ปี เป็นหลักของการใช้เหตุผลของการแสดงพฤติกรรมเป็น
เครื่องช่วยตัดสินว่าถูกหรือผิด เช่น ถ้าเด็กหยิบของโดยไม่ได้รับอนุญาตเด็กจะถูกตำหนิ เด็กจะรู้ทันทีว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่สมควร และจะไม่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นอีก เพราะกลัวถูกตำหนิ เป็นต้น
2. ขั้นการแสวงหารางวัล (Naively egoistic orientation)
อยู่ระหว่างอายุ 7-10 ปี ในข้นนี้เด็กจะเลือกสนใจที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ทำไปแล้วจะได้รับรางวัลเท่านั้น เด็กยังไม่คำนึงถึงความเห็นอกเห็นใจ หรือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พฤติกรรมของเด็กจะเป็นไปด้วยความพึงพอใจในรางวัลที่ได้รับมากกว่าการกลัวถูกลงโทษ
ระดับที่ 2 ระดับแสดงจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ของสังคม (Conventional Level) พัฒนาการระดับนี้จะมีการแสดงออกของพฤติกรรมที่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมที่เป็นสมาชิกอยู่ โดยในขั้นนี้เด็กจะไม่คำนึงถึงรางวัลหรือการลงโทษแล้ว แต่จะยึดถือมาตรฐานที่สังคมกำหนด ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นทำตามเพื่อเพื่อนและสิ่งที่สังคมยอมรับ (Interpersonal concordance of “Goodboy-Nicegirl” orientation)
เป็นขั้นของการทำตามความคิดเห็นของผู้อื่น อยู่ในอายุระหว่าง 10-13 ปีเป็นระยะที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น จึงให้ความสำคัญกับเพื่อนและกลุ่มเพื่อนมาก ดังนั้นการปฏิบัติตนของเด็กจะยึดถือที่ที่กลุ่มคาดหวัง และเลือกเลียนแบบบุคคลที่ตนเห็นว่าดี (Goodboy – Nicegirl)
2. ขั้นกฎเกณฑ์และระเบียบ (Law and order orientation)
เป็นการทำตามหลักของหน้าที่ อยู่ระหว่างอายุ 13-16ปี เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่าสังคมมีกฎระเบียบที่ถือปฏิบัติ และแต่ละคนมีหน้าที่บทบาทในสังคม ดังนั้นเด็กจะคิดว่าการเป็นคนดีคือการปฏิบัติตาม
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์ทางสังคม (Post-conventional Level) ในขั้นนี้การแสดงพฤติกรรมเกิดจากการใชวิจารณญาณของตนเป็นมาตรฐานในการตัดสินการปฏิบัติ โดยปราศจากอิทธิพลของบุคคลและสิ่งแวดล้อมในสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง ในขั้นนี้แบ่งแยกย่อยได้อีก 2 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นทำตามสัญญา (Social contract orientation)
เป็นขั้นหลักการมีเหตุผลและเคารพตนเอง อยู่ในช่วงอายุ 16 ปีขึ้นไป เป็นขั้นที่บุคคลจะเน้นในเรื่องของมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับและปฏิบัติ โดยคำนึงถึงสิทธิของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงจะใช้วิจารญาณในการไต่ตรองการกระทำถึงสิ่งที่ตนเองจะกระทำลงไป เหมือนกับพยายามปฏิบัติตนเหมือนกับเป็นคำมั่นสัญญาที่ตนให้ไว้แก่สังคม เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าตนเอง
2. ขั้นอุดมคติสากล (Universal ethical principle orientation)กฎระเบียบของสังคม และทำหน้าที่ของตนเองอย่างเคร่งครัดจะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่วัยผู้ใหญ่เป็นต้นไป เป็นขั้นที่บุคคลจะสร้างอุดมคติและคุณธรรมประจำใจขึ้นมา เช่น ยึดหลักโลกบาลธรรม 2 คือ หิริ และโอตัปปะ ยึดหลักเมตตา หรือยึดหลักความยุติธรรม เป็นต้น เป็นขั้นที่มีความต้องการที่จะเสียสละเพื่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง
โคห์ลเบิร์กเชื่อว่าบุคคลนั้นจะดำเนินพัฒนาการไปทางจริยธรรมตามลำดับขั้น โดยไม่ข้ามขั้นตอน แต่ทั้งนี้บุคคลอาจติดชะงักในขั้นหนึ่งขั้นใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับสติปัญญาและสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น ๆ

 

website templates.