ก่อนหน้า3/8ถัดไป
บทที่3 เรื่องพัฒนาการของมนุษย์

ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมของอีริกสัน (Erikson’s Psychosocial Theory)
อิริก เอช. อีริกสัน (Erik H. Erikson) เป็นลูกศิษย์ที่เคยร่วมงานกับฟรอยด์ ดังนั้นจึงมีส่วนไม่น้อยที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของฟรอยด์ แต่ต่างกันที่อีริกสันเน้นความสำคัญไปยังปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมทางจิตใจมากกว่า นอกจากนั้น พัฒนาการของบุคคลมีการเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดไปจนถึงเสียชีวิต ไม่ใช่แค่เพียง 5 ระยะแรกแบบฟรอยด์ ลำดับขั้นแห่ง
พัฒนาการของอีริกสันจึงแบ่งได้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นความไว้วางใจและไม่ไว้วางใจ (Trust VS Mistrust)
อยู่ในช่วงแรกเกิดถึง1ปีอีริกสันให้ความสำคัญมากเพราะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทางสังคมต่อไปเด็กในวัยนี้ต้องได้รับความเอาใจใส่จากคนใกล้ชิด เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เมื่อเติบโตขึ้นเด็กจะเกิดความไว้วางใจสังคม เห็นความสำคัญในการพึ่งพากันและกัน แต่หากตรงกันข้าม เด็กจะรู้สึกไม่วางใจสังคม ทางสังคม ในแง่ร้าย หลีกหนีสังคม 
2) ขั้นของความเป็นตัวของตัวเองกับความไม่มั่นใจในตัวเอง (Autonomy VS Doubt)
อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี เป็นระยะที่กล้ามเนื้อของเด็กแข็งแรงมากขึ้น และอวัยวะต่าง ๆ มีการประสานงานกันดีขึ้น จึงเป็นช่วงระยะที่เด็กแสดงออกทางกิจกรรมหลาย ๆ อย่างให้เห็น พ่อแม่ควรให้อิสระกับเด็กในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3) ขั้นความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative VS Guilt)
อยู่ในช่วงอายุ 3-5 ปี เด็กในวัยนี้สามารถสร้างจินตนาการของตนขึ้นมาได้และมีความคิดริเริ่มเป็นของตนเอง การเล่นของเด็กในวัยนี้จึงมีความสำคัญ เนื่องจากเด็กใช้ของเล่นทั้งหลายแทนจินตนาการ เด็กในวัยนี้ต้องการความมีอิสระโดยไม่ต้องพึงพาผู้ใหญ่ มีการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดตน ซึ่งคล้ายคลึงกับช่วงระยะปม ออดิปุสและปมอิเล็กตราของฟรอยด์ หากพ่อแม่ส่งเสริมการทำกิจกรรมของเด็กและยอมรับผลงานของเด็กแล้ว เด็กจะเกิดความกล้าแสดงออกและความคิดริเริ่มใหม่ ๆ
4) ขั้นความขยันหมั่นเพียรกับมีปมด้อย (Industry VS Inferiority)
อยู่ในช่วงอายุ 6-11 ปี การที่อีริกสันใช้คำว่า Industry เพราะในวัยนี้เป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทำสิ่งที่ตนอยากทำ และภูมิใจในความสำเร็จของผลงานที่เกิดจากตนเอง ดังนั้นผู้ใหญ่จึงควรให้กำลังใจและชี้แนะให้เด็กสามารถบรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหวังของเขา เด็กจะเชื่อความเชื่อมั่นในความสามารถของตนและมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ในทางกลับกัน ถ้าขาดผู้ใหญ่คอยแนะนำ หรือมีการตั้งความคาดหวังในตัวเด็กสูงเกินไป
5) ขั้นรู้จักตนเองกับไม่รู้จักตนเอง (Identity VS Role Confusion)
อยู่ในช่วง 12-18 ปี ซึ่งเป็นระยะวัยรุ่น ขั้นนี้ถือว่าเป็นขั้นวิกฤติมากที่สุด เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ ถ้าไม่สามารถลุล่วงไปด้วยดีจะทำให้เด็กกลายเป็นคนที่มีบุคลิกภาพสับสนในตนเอง และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่บุคลิกภาพไม่มั่นคงในอนาคต เด็กจะละบทบาทของเด็กและเริ่มเข้าสู่บทบาทผู้ใหญ่ เด็กจะแสวงหาตัวเองเพื่อให้รู้จักตนเองในแง่มุมต่าง ๆ หากเด็กผ่านขั้นนี้ได้ เด็กจะเกิดความจงรักภักดีต่ออุดมคติกลุ่มบุคคลศาสนาวัฒนธรรมซึ่งช่วยในการคลายความสับสนในตนเองจนสามารถผ่านพ้นวิกฤติของวัยนี้ไปด้วยดี
6) ขั้นความคุ้นเคยผูกพันกับการแยกตนเองหรืออ้างว้าง (Intimacy VS Isolation)
ระยะนี้อยู่ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นวัยที่บุคคลเริ่มรู้จักตนเอง ค้นพบตนเอง รู้จักวางแผนชีวิต และพร้อมที่จะสร้างความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามในฐานะของเพื่อนสนิท ถือว่าเป็นวัยแห่งการแต่งงาน พัฒนาการในด้านนี้เป็นไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในตนเอง และความสำเร็จของการผ่านพัฒนาการในระยะแรก ๆ ถ้าบุคคลสามารถผ่านระยะนี้ได้จะทำให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เห็นคุณค่าในตนเอง และให้ความนับถือซึ่งกันและกัน เป็นพื้นฐานในการสร้างพัฒนาการทางความรัก แต่หากเป็นในทางตรงกันข้าม บุคคลนั้นจะเกิดอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น กลายเป็นคนอ้างว้าง ว้าเหว่ จนกลายเป็นคนรักตนเองและไม่สามารถแสดงความรักต่อผู้อื่นได้ (Nacissism)
7) ขั้นห่วงชนรุ่นหลังกับคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity VS Stagnation) หรือขั้นความเป็นพ่อแม่กับขั้นความหยุดนิ่ง (Parenta lVS Stagnation)
ขั้นนี้อยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน เป็นวัยแห่งความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง จะต้องแสดงความรับผิดชอบแบบผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ มีความมุมานะที่จะสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว อบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีและประสบความสำเร็จในชีวิต หากบุคคลประสบความล้มเหลวขากพัฒนาการขั้นต้น ๆ บุคคลจะรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ เกิดปมด้อย ไม่คิดถึงคนอื่นนอกจากตัวเอง
8) ขั้นความรู้สึกมั่นคงทางใจกับท้อแท้สิ้นหวัง (Integrity VS Despair) หรือขั้นบุคลิกภาพที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ เป็นระยะขั้นปลายของชีวิต ในขั้นนี้จึงเป็นขั้นรวมของพัฒนาที่ผ่านมาทั้ง 7 ขั้น ถ้าบุคคลที่อยู่ในปัจจุบันยอมรับกับตนเองได้ว่าชีวิตที่ผ่านมาตนประสบความสำเร็จและความสุข และสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จะทำให้เกิดการยอมรับสภาพของตนเองที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลมีปัญหาในพัฒนาการที่ผ่านมา และสะสมปัญหาไปจนถึงข้นที่ 8 จะทำให้รู้สึกไม่พอใจต่อสภาพชีวิตที่ผ่านมา รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า บุคคลนั้นจะเต็มไปด้วยความผิดหวังและท้อแท้กับปัจจุบัน และไม่ยอมรับกับความตายที่กำลังจะมาถึง

 

website templates.