ก่อนหน้า2/6ถัดไป
บทที่6 เรื่องการจูงใจ

ประเภทและลักษณะของแรงจูงใจ
แรงจูงใจตรงกับภาษาอังกฤษว่า Motive นักจิตวิทยาใช้หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการจำแนกประเภทของแรงจูงใจ ซึ่งมีหลายระบบและหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งในที่นี้จะขอนำมากล่าวเฉพาะมาสโลว์ (Maslow)
ตามแนวคิดของมาสโลว์นี้ เขาเน้นว่า มนุษย์เรามีความต้องการเป็นไปตามลำดับ เมื่อได้รับการสนองตอบในขั้นที่ 1 คนเราจะต้องการขั้นที่ 2 และต่อ ๆ ไปตามลำดับ
มาสโลว์มีความเห็นว่า ความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้น จากขั้นมูลฐานจนถึงขั้นสูงสุด ซึ่งเรียงได้ตามลำดับ ดังนี้
ความต้องการอันดับแรกของมนุษย์ คือ ความต้องการทางร่างกาย ได้แก่ ต้องการน้ำ อาหาร อากาศพักผ่อน การนอนหลับ (Physiological needs)
ความต้องการขั้นที่ 2 คือ ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety needs) คือ ความต้องการความปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
ความต้องการขั้นที่ 3 คือ ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs) ได้แก่ ความต้องการความรัก (Love needs) เช่น ต้องการเพื่อน ต้องการมีคนรักใคร่ขอบพอ ไม่ต้องการอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย
ความต้องการขั้นที่ 4 คือ ความต้องการด้านศักดิ์ศรี มีหน้ามีตาในสังคม (Esteem needs) ต้องการเป็นหัวหน้า เป็นผู้นำกลุ่ม ต้องการมีชื่อเสียงโด่งดังในสังคม ต้องการได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไป
ความต้องการขั้นที่ 5 คือ ความต้องการมีสัจจะแห่งตน (Self Actualization) เป็นความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์เพื่อจะทราบว่าตัวเองมีความสามารถที่จะทำสิ่งใดได้บ้างในด้านศักยภาพ (Potential) ของมนุษย์ เกิดมาแล้วสามารถทำงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและผู้อื่นมากน้อยเพียงใด
ความต้องการทั้ง 5 ขั้นนี้ เรียงตามลำดับเหมือนขั้นบันใด ความต้องการทางกายเป็นความต้องการขั้นต้นที่สุดที่เป็นพื้นฐานสำหรับความต้องการขั้นต่อไป การพัฒนาด้านจิตใจจะเป็นการพัฒนาระดับความต้องการ คือ เมื่อบุคคลสามารถสนองความต้องการทางกายแล้ว ก็พยายามหาทางสนองความต้องการด้านความปลอดภัยต่อไป เมื่อมีความมั่นคงปลอดภัยพอสมควรก็สนองความต้องการด้านความรักความเป็นเจ้าของ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม ลำดับต่อไปก็เป็นการแสงหาชื่อเสียงเกียรติยศ และต้องการสัจจะแห่งตนในลำดับสูงที่สุด

ประเภทแรงจูงใจ
ประเภทของแรงจูงใจยังสามารถแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้อีก 3 ประเภท คือ
1. แรงจูงใจทางด้านร่างกาย (Physiological) เป็นแรงจูงใจที่ติดตัวมาแต่กำเนิด มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต เช่น ความหิว ความกระหายน้ำ ความต้องการทางเพศ
2. แรงจูงใจทั่วไปที่ไม่ใช่การเรียนรู้ หรือแรงจูงใจทั่วไป (Unlearned or General Motives) เป็นแรงจูงใจที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเรียนรู้และไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เป็นความต้องการส่วนบุคคล เช่น ความต้องการเคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดจนความอยากรู้อยากเห็น ความกลัว ความต้องการความรักใคร่เอ็นดู
3. แรงจูงใจทางสังคม (Social Motives) เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ไม่ใช่ติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เกิดขึ้นเพราะการที่บุคคลได้เกี่ยวข้อง กับสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุที่คนเป็นสัตว์สังคม ดังนั้นพฤติกรรมส่วนใหญ่จึงได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม ซึ่งได้แก่ สถาบันต่าง ๆ วัฒนธรรม ค่านิยม ความนึกคิด ความเชื่อถือ ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา เป็นต้น แรงจูงใจทางสังคมได้แก่ ความต้องการให้สังคมยอมรับนั่นเอง
มีผลมาจากแรงขัย 8 อย่าง ได้แก่
1. ความหิว (Hunger drive)
เราหิวอาหารเพราะร่างกายขาดอาหาร เกิดการบีบตัว หรือหดตัวของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหาร แต่จากการทดลองตัดกระเพาะอาหารออก ร่างกายก็ยังแสดงอาการหิวอยู่ จากการทดลอง สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดการหิว คือ การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในกระแสโลหิต นอกจากนี้การหิวบางครั้งเราหิวเฉพาะอย่าง เช่น เด็กหิวไอศครีม ไม่หิวข้าว แมวหิวปลาไม่หิวมะเขือ เป็นต้น การหิวเฉพาะอย่างเกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ อีกประการหนึ่งในการหิวเฉพาะอย่างเกิดจากร่างกายขาดอาหารประเภทนั้นทำให้เราต้องการอาหารประเภทนั้น ๆ ความหิวนับเป็นแรงขับที่มีอิทธิพลมากต่อพฤติกรรม
ตลอดวัยเด็กและวัยแรกรุ่น ซึ่งร่างกายกำลังเจริญเติบโต จะเห็นว่าเมื่อเด็กหิวจะรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่ายเกิดความเครียดโมโหง่าย ต่อจากนั้นแรงจูงใจทางสังคมจึงจะเริ่มข้ามามีบทบาท
2. ความกระหาย
นักสรีรวิทยาได้แสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถจะหาบรรดาสัตว์โลกใดที่มีแต่ความกระหายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วเราจะเห็นว่าความต้องการอาหารย่อมติดตามด้วยความต้องการน้ำ ทั้งนี้เพราะอาหารแข็งนั้นต้องเข้าไปในรูปของสารละลายและยิ่งกว่านี้ อาหารตามธรรมชาตินั้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ ดังนั้นความกระหายของน้ำในทะเลทรายนั้นจะไม่สามารถเอาชนะความกระหายได้โดยเพียงแค่ดื่มน้ำเท่านั้น จะต้องมีอาหารกินด้วยจึงจะทำให้ความกระหายหมดไปได้
เกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความกระหายนี้ เคยมีผู้เข้าใจว่าเป็นเพราะเมื่อเซลล์ในเยื่อลำคอมีปริมาณน้อยลง จึงทำให้คอแห้งและอยากดื่มน้ำ แต่ความจริงแล้วความกระหายนี้มีสาเหตุจากปริมาณน้ำของเซลล์ในร่างกายลดลง โดยเฉพาะที่ไฮโปธัลลามัส (Hypothalamus) จะมีนิวโรนอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งมีความไวต่อการสูญเสียน้ำของร่างกาย ก็จะส่งกระแสความรู้สึกไปยังสมอง ความกระหายก็จะเกิดขึ้น และภาวะสำคัญที่ทำให้คนต้องการน้ำ คือ ระดับเกลือในกระแสโลหิตด้วย
3. แรงขับทางเพศ (Sex drive)
แรงขับทางเพศจะปรากฏให้เห็นได้ชัดในระยะที่มนุษย์ย่างเข้าสู่วัยสุกทางเพศ หรือระยะ Puberty (คำ Puberty มาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Pubertas มีความหมายว่า มีอายุเป็นผู้ใหญ่ แต่ในทางจิตวิทยานั้นได้ใช้ความหมายที่ว่าเป็นระยะที่เด็กมีพัฒนาการเพศเจริญสุดขีด) Feuds มีความเห็นว่า ความต้องการทางเพศเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดพฤติกรรมผิดปกติต่าง ๆ ถ้าสังคมไม่เปิดโอกาสให้เด็กวัยรุ่นได้ระบายแรงขับด้านนี้ไปในทางที่ถูกที่ควร
4. ความอบอุ่นและหนาว (Warmthsand Cold)
ร่างกายคนเราต้องการอุณหภูมิพอเหมาะแก่ร่างกาย ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เมื่อเกิดมีความร้อนจัดหรือหนาวจัดจะทำให้เกิดแรงจูงใจเสาะแสวงหาสิ่งที่มาทำให้ร่างกายเกิดความอบอุ่นตามต้องการ
5. ความต้องการหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด (Pain) เพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปลอดภัย ถ้าคนเราเกิดความเจ็บปวดก็จะพยายามบำบัดรักษาหรือหาทางป้องกันเพื่อให้ร่างกายปราศจากโรค หรือการสู้รบก็จะหนีไปสู่ที่ซึ่งปลอดภัยกว่า
6. ความต้องการพักผ่อนนอนหลับ (Sleep drive) คนต้องการการหลับพักผ่อนเท่า ๆ กับความต้องการอาหาร ความง่วง ความเหนื่อย เป็นกำลังขับดันอย่างหนึ่งซึ่งจูงใจคนทำพฤติกรรมบางอย่างที่นำไปสู่การพักผ่อนนอนหลับ

7. ความต้องการอากาศ (ออกซิเจน) คนต้องการอากาศสำหรับหายใจ คนที่จมน้ำหรือกำลังอยู่ในที่สำลักวันไฟจะตะเกียกตะกายเพื่อหา (ออกซิเจน) ช่วยในการหายใจ ถ้าคนขาด (ออกซิเจน) ภายใน 3 – 5 นาที จะทำให้เสียชีวิตทันที
8. ความต้องการขับถ่าย (Plimination)
การขับถ่ายเอาของโสโครกออกจากร่างกายเป็นสิ่งจำเป็น มิฉะนั้นจะเกิดเป็นพิษภายในร่างกายและทำให้คนไม่สามารถดำรงชีวิตได้
ความต้องการทางกาย ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากแรงขับดังกล่าวข้างต้น นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าแรงขับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาดุลยภาพของสภาวะภายในร่างกาย ที่เรียกว่า โฮมีโอสเตชีส (Homeostasis) เมื่อร่างกายอยู่ภาวะเสียสมดุล ความเครียดก็จะเกิดขึ้นและจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการลดแรงขับเหล่านั้นให้ความเครียดลดน้อยลงหรือหายไป

website templates.